วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ธงชาติไทย

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆวันนี้มีความรู้เกี่ยวกับธงชาติไทยมาฝากกัน  ปรางเชื่อว่าคนไทยหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน แม่แต่ตัวปรางเองก็เพิ่งรู้เช่นกันค่ะ แต่ปรางเห็นว่าเป็นประโยชน์มากๆเลยนำมาฝากกัน

ที่มาของการศึกษาครั้งนี้ คือ เมื่อวานไปรวมชุมชุมคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม แล้วได้เห็นคนที่รักชาติจำนวนหลายคนมารวมตัวกัน มันทำให้เราต้องย้อนดูตัวเองอีกเยอะเลยค่ะ ว่าเราเคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาตเราบ้างไหม เราเห็นทั้งคุณลุง คุณป้า คุณตา คุณยาย มานั่งตากแดดตากลม ประชุมกันยันดึก ร้อนก็ร้อน กลางคืนฝนก็ตก ถนนสกปรกมาก แต่พวกเขาก็นั่งทนกันต่อไป

รักเธอประเทศไทย

พอกลับมาบ้านก็ตั้งใจว่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยให้มากขึ้น เอาไว้สอนลูกหลาน เอาไว้เล่าให้ชาวต่างชาติฟัง ฟังดูแล้วอาจไม่ได้เป็นการทำเพื่อชาติมากนัก แต่ก็ดีกว่าไม่รู้รากเง้าตัวเองซะเลย

ก่อนหน้านี้หลายคนคงเคยได้ยินข่าวที่มีคนโพสรูปมิดีมิงามกับธงชาติไทย แล้วคราวนั้นมันจบลงยังไง ปรางจะอธิบายให้ฟังค่ะ

เอาล่ะมาเข้าเรื่อง ธงชาติกันดีกว่า จะอธิบายเป็นข้อๆนะค่ะ เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ

- ธงชาติ คือ ธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆ (ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน นิยามคำว่า ธงชาติ ไว้ว่า ธงชาติ น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง)
- ธงชาติไทยที่ในปัจจุบัน เรียกว่า ธงไตรรงค์ ซึ่งมีความหมายแสดงความเป็นเอกราชอธิปไตยของชาติ
- สีต่างในธง คือ สีแดง = ชาติ สีขาว = ศาสนา สีน้ำเงิน = พระมหากษัตริย์
- ธงชาติไทยในปัจจุบันเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 สมัย ร.6
- ธงไตรรงค์ นำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหาการชักธงช้างเผือกกลับด้าน และ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร (สีน้ำเงินนี้ยังแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น)


มาถึงข่าวที่มีผู้ถ่ายภาพมิดีมิงามกับธงชาติไทยนั้น ก็มีการแก้ข่าวออกมาว่าจริงๆแล้วมันคือ ธงทิว ต่างประเทศเรียกว่า Bunting เป็นธงที่ใช้ประดับงานรื่นเริง ที่มีการใช้มาก่อนปี  พ.ศ. 2460 ค่ะ  แต่มีความแตกต่างที่ อัตราส่วนของสีต่างๆในธงค่ะ คือ ทุกสีจะมีอัตราส่วนเท่ากันเรียง 5 แถบ แต่ธงชาติไทยมีอัตราส่วน ส่วนที่เป็นสีน้ำเงินมากกว่าสีอื่นๆค่ะ

ธงทิวที่ขายกันทั่วไป




เมื่อมีความคล้ายคลึงกันขนาดนี้ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริอยากเปลี่ยนไปใช้ธงช้างเผือกเหมือนเดิมอีกครั้ง 


พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ธงชาติไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบรรทึก พระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ผลปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิม โดยมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ พ.ศ. 2479 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์ และหลังจากเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน โดยมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์

พัฒนาการของธงชาติไทยโดยสรุป

ภาพธงระยะเวลาการใช้การบังคับใช้ธงลักษณะหมายเหตุ
Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325
(ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398
(ธงเรือเอกชน)
ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแดงเกลี้ยงไม่ระบุว่าใช้ครั้งแรกเมื่อไร
Flag of Thailand (1782).svg
พ.ศ. 2325 - 2360
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปวงจักรสีขาวใช้เฉพาะบนเรือหลวง
Flag of Thailand (1817).svg
พ.ศ. 2360 - 2398
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกในวงจักรสีขาวใช้เฉพาะบนเรือหลวง
Flag of Thailand 1855.svg
พ.ศ. 2398 - 2459
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110 [18]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116 [5]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118 [6]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129[11]
ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธงใช้บนแผ่นดินเป็นธงแรก
State Flag of Thailand (1916).svg
พ.ศ. 2459 - 2460
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ) [11]
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[10]
ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงสำหรับราชการ
Flag of Thailand (1916).svg
พ.ศ. 2459 - 2460
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[10] (ในชื่อ "ธงค้าขาย")ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 9 ส่วน กว้าง 6 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีแดงตรงกลางกว้าง 2 ส่วนสำหรับสามัญชน
Flag of Thailand.svg
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460[12]
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479[16]
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522[17]
ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีน้ำเงินขาบตรงกลางกว้าง 2 ส่วนใช้ทั่วประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งค์นี้เลยค่ะ  http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/thaiflag/newsite/detail.php?id=4

การกระทำอันไม่สมควรต่อธงชาติและบทกำหนดโทษ

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ข้อ 19 การกระทำต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพ มีดังนี้
  • 19.1 การกระทำอันเป็นการเหยียดหยามต่อธงชาติ ได้แก่ การกระทำต่อธงชาติรูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ ด้วยเจตนาเหยียดหยามประเทศชาติ เช่น ฉีกทำลาย ถ่มน้ำลายรด ใช้เท้าเหยียบ วางเป็นผ้าเช็ดเท้า ซึ่งเป็นการแสดงความดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามชาติไทย
  • 19.2 การกระทำที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ เช่น
    • (1) การประดิษฐ์รูป ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นในผืนธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีของธง
    • (2) การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงอันมีลักษณะตามข้อ (1)
    • (3) การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงไว้ ณ สถานที่หรือวิธีอันไม่สมควร
    • (4) การประดิษฐ์ธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือสิ่งใด ๆ โดยไม่สมควร
    • (5) แสดงหรือใช้สิ่งใด ๆ ที่มีรูปธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงอันมีลักษณะตามข้อ (4)
การกระทำการต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพมีความผิด ต้องระวางโทษตามกฎหมายดังนี้[
  1. กระทำการใด ๆ ต่อธงชาติหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 118)
  2. กระทำการใด ๆ ต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีของธงชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีข้อ 19.2 ข้างต้น (ข้อความดังกล่าวลอกมาจากพระราชบัญญัติธงอีกทีหนึ่ง) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 มาตรา 53)
  3. ผู้ใดกระทำการกระทำใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการเหยียดหยามต่อธง รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีของธงชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 มาตรา 54)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น