วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การขอเงินชดเชยจากประกันสังคม กรณีว่างงาน

** การขอสิทธิ์นี้ ต้องไปภายใน 30 วันหลังจากที่ออกจากงานไม่งั้นหมดสิทธิ์ค่ะ**  


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ เราได้คุยกับเพื่อนหลายคนที่ทำงานประจำและลาออก หรือเปลี่ยนงาน ส่วนมากมักจะไม่รู้การใช้สิทธิ์ประกันสังคมที่ตนเองมี

เราลาออกมก็ควรใช้สิทธิ์ให้เต็มที่เพราะเราถือว่าเราก็จ่ายไปเต็มที่เหมือนกัน เราจ่ายเงินให้ประกันสังคมตั้งแต่ตอนเรียนปี 1 คือปี พ.ศ. 2550 แล้วเราทำงานมาตลอดโดยรัฐบาลจะหัก 5 % รายได้ทั้งหมด (แต่ไม่เกิน 750 ต่อเดือน)  คิดดูสิค่ะว่าจ่ายไปเท่าไร?

ก่อนเราจะลาออกก็ซื้อประกันสุขภาพไว้เลย เพราะสิทธิ์ประกันสังคมใช้ได้อีกแค่ 6 เดือนหลังจากวันที่เงินเดือนงวดสุดท้ายจ่ายประกันสังคม และเราก็เดินหน้าขอเงินคืนค่ะ 555+ การจะขอเงินคืนก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรแต่แค่เราต้องทนไปกรอกเอกสาร เดินทางไปรายตัว (ไกลมากๆ)

เอกสารที่ประกันสังคมส่งมาให้ที่บ้านหลังจากไปลงทะเบียนนะค่ะ


ขออธิบายคร่าวๆภาษาง่ายนะค่ะ

สิทธิ์เงินชดเชยที่จะได้รับคือ 
1.  ถ้าลาออก ประกันสังคมจะจ่ายให้ 30 % ของเงินเดือนเป็นเวลา 90 วัน
2. ถ้าโดนไล่ออก ประกันสังคมจะจ่ายให้ 50 % ของเงินเดือนเป็นเวลา 180 วัน (เห็นแล้วอยากโดนไล่ออกเลย 555+)
3.  เงินชดเชยที่นำมาคืนให้จะคิดจากเงินเดือนที่ได้รับจริงต่อเดือน ยกเว้นคุณมีรายได้เกิน15000 บาทต่อเดือน เพราะค่าจ้างสูงสุดที่ประกันสังคมจะนำมาคำนวณคือไม่เกิน 15000 บาท (ตอนเขาหักก็หักสูงสุดอยู่ที่ 750 บาท คือฐานของเงินเดือน 15000 บาทค่ะ ) 

ตัวอย่าง นาย ก. ได้ค่าจ้าง 15000 นาบ ข.ได้ค่าจ้าง 20000 บาท 
ทั้งนาย ก. และ นาย ข. จะได้สิทธิ์ในการคืนเงินชดเชยที่ 15000 บาทเท่ากัน 

ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. ทำงานและจ่ายประกันสังคมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
2. ลาออก หรือ โดนไล่ออกจากงานแล้ว
(ตามเอกสารด้านบนเลยค่ะ)

เอกสารที่ต้องนำไป
1. สบัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาสมุดธนาคารที่มีเป็นชื่อเรา ที่ต้องการให้เงินเข้าทุกๆเดือน
3. รูปถ่าย 1 นิ้วค่ะ

ขั้นตอนต่อไปคือไปที่สำนักงานประกันสังคมค่ะ เอาที่ใกล้แล้วสะดวกที่สุด ปัจจุบันสามารถไปได้ทุกจังหวัดค่ะ เมื่อไปถึงสำนักงานก็ต้องกรอกเอกสาร 2 ใบ (จำไม่ได้แล้วเรียกว่าอะไร)
ไปที่เค้าเตอร์ยืนบัตรประชาชนและพนักงานก็จะยื่นเอกสารมาให้กรอก และรอเรียกคิวค่ะ

ใบนัดรายงานตัวที่โดนชาเขียวราดค่ะ 55+ อันนี้ด้านหน้า

พอได้คิวพนักงานก็จะให้ยื่นใบนัดรายงานตัวให้ (ไม่รู้ว่าจะใหญ่ไปไหน) ซึ่งเค้าก็จะจัดการกรอกให้หมด เราก็นั่งดูอย่างเดียว
  
ใบนัดด้านหลัง


ขั้นตอนสุดท้ายฟังพนักงานแนะนำรายละเอียด เค้าจะอ่านใบนัดให้เราฟัง (อ่านเองก็ได้นะ แต่นางคงกลัวพลาดมั้ง 55 ไม่รายงานตัวกี่รอบนางก็อ่านให้ฟัง)

เมื่อเราไปรายงานตัวแล้วครั้งแรกจะยังไม่ได้เงินนะค่ะ เพราะครั้งแรกคือการลงทะเบียนเงินจะได้หลังจากรายงานตัว ไม่เกิน 5-7 วัน  ที่เหลือรายละเอียดอยู่ในรูปหมดแล้วไม่รู้จะอธิบายอะไรแล้วอ่ะ 555+.



อย่าตัดสิทธิ์ตัวเองนะค่ะเพื่อนๆ เราไม่ได้ไปขอเงินฟรีเพราะทุกบาทที่เราจะได้กลับมามันคือเงินคุณที่จ่ายให้เขาไป

มีข้อสงสัยเข้าไปอ่านในนี้ได้ค่ะ เวปประกันสังคมโดยตรง










วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตไม่แน่นอน ทำไมวันนี้อยากเป็นช่างเย็บผ้า? ตอนที่ 2

ภาคต่อจาก "ชีวิตไม่แน่นอน ทำไมวันนี้อยากเป็นช่างเย็บผ้า? ตอนที่ 1" ตอนนี้อาจจะอ่านดูเครียดๆหน่อยนะ (เค้าจริงจังอ่ะ 55+)  ใครยังไม่ได้อ่านตอนแรก คลิ๊กด้านล่างได้เลยค่ะ


เมื่อเรารู้สึกสนุกอยู่กับตัดเสื้อผ้าใหม่ๆ ใจก็ไม่เป็นอันจะอยู่กับการทำงาน ไปทำงานก็ไม่มีความสุข คราวนี้กลับกลายเป็นว่าเราเป็นทุกข์เพราะทำสิ่งที่เราไม่ชอบเหมือนเราโดนบังคับให้ทำ ซึ่งจริงๆมันคือเราบังคับตัวเองนั่นแหละเพราะแรงผลักดันของสังคม การได้ทำงานในบริษัทที่ดีมีชื่อเสียงมันทำให้เราดูเป็นบุคคลที่มีคุณภาพคนหนึ่ง แต่มันจะมีผลอะไรหาก "คนอื่นมองว่าคุณเป็นคนเก่ง แต่คุณมองเห็นตัวเองเป็นคนไม่มีความสุข" จริงไหมค่ะ


ทุกครั้งที่เห็นคนที่ได้ทำงานที่เขาชอบ เรารู้สึกชื่นชมและก็อดอิจฉาไม่ได้  ตอนนั้นในใจได้แต่ "คิดว่าเราอยากทำอะไรที่เราชอบ เพราะเราอยากเป็นคนที่มีความสุข" วันๆนั่งถามตัวเองอะไรที่จะทำให้เรามีความสุขได้ อะไรคือสิ่งที่เราอยากทำ จากนั้นเริ่มซื้อหนังสือจิตวิทยามาอ่านเพื่อกล่อมใจให้มองโลกสวยขึ้น สุดท้ายก็ได้คำตอบให้ตัวเองว่า "ถ้าใจเรามันทุกข์ ก็ตามใจมันซะเลยจะได้ไม่ทุกข์"

ทุกครั้งที่ได้เห็นผลงานตัวเอง มันภูมิใจมากบอกไม่ถูกค่ะ เหมือนเว่อรนะแต่จริงค่ะ 555+

ลัทธิแสวงหาความสุขใส่ตัวเริ่มครอบงำเราคิดแค่อย่างเดียวว่าเราต้องค้นหาตัวเองให้เจอว่าเราชอบอะไร หลังจากนั้นเราเริ่มทำทุกอย่างที่เราชอบแล้ววัดระดับความสุขขณะที่ทำ ไม่น่าเชื่อว่างานเย็บผ้าจะทำให้เรามีความสุขได้มากขนาดนี้ เพราะอะไรนะหรอ ตอนแรกมันเริ่มจากการคิดถึงแค่ตัวเองก่อนค่ะ  คือ 
1. เราอยากใส่เสื้อผ้าแบบไหนก็ได้ เพราะเราสามารถทำเองได้ บ่อยครั้งที่เราทำปุ๊บใส่เลย ฮ่าๆๆ
2. ขนาดก็พอดีตัวเราเอง ไม่ต้องมากังวลว่าเสียเงินไปจะใส่สวยพอดีไหมและคุณภาพเนื้อผ้าเราเลือกเองดีไม่ดียังไงตัดสินใจเลือกได้
3. ราคาประหยัดมากค่ะ เสียแค่เวลา ซึ่งเราเรียกการเสียเวลาแต่ละชม.ว่า "การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆค่ะ"
4. ความภูมิใจในผลงาน มันเป็นสิ่งมี่ทำให้เรามีความสุขมากๆค่ะ 

ซื้อหนังสือเรียนตัดผ้าด้วยตัวเอง เมื่อตัดสินใจว่าทำอาชีพแน่นอน ก่อนที่จะไปสมัครเรียนจริงจัง

เราก็คิดว่าเราจะทำอาชีพตัดผ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง หลังจากนั้นก็เริ่มปรึกษาคนรอบข้างเพื่อหาแนวร่วม
แม่พูดว่า "ตัดผ้าเป็นอาชีพที่ไม่สบายนะ วันๆได้แต่ตัดเสื้อผ้าสวยๆแต่ไม่มีโอกาสได้ใส่ เราจะโทรมนะลูก" เราก็เห็นภาพที่แม่พูดนะ แต่ก็คิดในใจว่าเราอยากทำแล้วล่ะต่อให่แม่ไม่สนับสนุนเราก็ไม่ถอยอยู่ดี แม่เราเป็นคนที่ปล่อยให้ลูกได้ใช้ความคิดตัวเองเสมอ ไม่เคยห้ามใดๆแต่จะพูดเปรยๆให้เข้าใจและให้คิดตามเอง

ยายพูดว่า "อย่าเลยไม่ดีหรอก เป็นลูกจ้างเขาดีแล้วเรามีเงินเดือนกินสบาย" เราก็เข้าใจที่ยายพูด คนอายุมากก็จะคิดว่าการมีเงินกินเงินใช้เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว 

พี่สาว "อยากทำไรทำเลย" พี่เราก็รู้ว่าการเป็นลูกจ้างเขามันทรมานแค่ไหนก็สนับสนุนให้ทำสิ่งที่อยากทำ

แฟน "อยากทำไรก็ทำ ทำที่คุณชอบ ทำให้ดี แล้วมันจะเป็นสิ่งที่ทำเงินหาเลี้ยงคุณได้" อ๊ากๆๆ จากผู้ชายหน้าตาธรรมดาๆ พูดคำนี้ออกมากลายเป็นคนหล่อไปเลย 555+   love love 

เพื่อนๆก็สนับสนุนให้ทำธุรกิจเองเพราะไม่มีใครอยากเป็นลูกน้องคนอื่นอยู่แล้ว

ตัวเอง "เกิดมาไม่ค่อยได้ทำอะไรตามใจตัวเอง เพราะสภาพแวดล้อม ฐานะมันบังคับเสมอ วันนี้พอมีหนทางให้ทำในสิ่งที่เราชอบก็ควรทำ ไม่ทำวันนี้ วันหน้าความคิดนี้ก็จะหวนกลับมาอีกเป็นความรู้สึกที่เรียกว่าเสียดาย ตายๆๆ เราไม่อยากเป็นคนแก่อมทุกข์ที่มานั่งคิดถึงอดีตแล้วรู้สึกเสียดายในการใช้ชีวิตที่ผ่านมา เอาก็เอาว่ะ ถ้ามันล้มตอนนี้อายุน้อยแผลก็หายง่ายล่ะ"

สุดท้ายก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ไปเป็นนักเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี คราวนี้ไม่มีใบปริญญาใดๆมาวัดความสำเร็จในการเรียน  แต่เมื่อเราเรียนจบไป เราสามารถหาเลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่เรารักได้ สิ่งที่จะเอามาวัดตอนนั้นได้มันคือ  "ความสำเร็จในชีวิต" 


สุดท้ายขอโชว์รูปให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ตัวเองก็นึกไม่ถึง  555+

ช่วงกำลังเรียนทำ part-time ด้วย

จบปริญญาตรี สาขานาฏศิลป์ไทย


แต่ไปทำงานที่ FedEx  ทำเกี่ยวกับ Logistic
หลังจากนั้นก็ไปอยู่บริษัท Post production

สุดท้ายมาเป็นช่างเย็บผ้า 55555555+

ทั้งหมดมันเป็นแค่จุดเริ่มต้นนะค่ะ การเริ่มต้นทำอาชีพใหม่ๆมันยากนะค่ะ ยิ่งเป็นการทำด้วยตัวเองด้วย ฮือๆๆ อัดพาราไปหลายเม็ดเลยค่ะ แต่อย่างน้อยเรารู้ใจตัวเองแล้ว ผิดมาพลาดมา เรายิ้มได้ค่ะเพราะเราเลือกเอง เราจะไม่โทษตัวเองเพราะเราคิดก่อนทำเสมอ

มันเป็นเรื่องธรรมดาค่ะที่พอมองเห็นคนรอบข้างที่มีพร้อมทุกอย่างแล้วทำให้เราท้อ แต่คุณลองมองดูชีวิตตัวเองให้ดีๆค่ะ บางที่คุณอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า "วันนี้ที่คุณบ่นมา เราทุกข์ เราจน เราไม่มีความสุข เมื่อก่อนดีกว่านี้หรอ" เราเวลาท้อๆก็มองดูตัวเองแล้วคิดว่า "ทุกวันนี้ก็ไม่ได้สบาย เลิศหรู แต่เมื่อเราหันหลังมองไปตอนที่เรายังเด็ก เรารู้เลยว่าชีวิตเราดีขึ้นมาก สมัยก่อนอยากกิน KFC ต้องเก็บเงิน อดข้าวไม่รู้กี่มื้อ" กินข้าวกับน้ำปลาก็ยังเคย ดังนั้นเราคิดว่า "การเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับตนเองดีกว่าการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่นนะค่ะ" 

สุดท้ายฝากไว้สำหรับเพื่อนๆที่มีข้อจำกัดในชีวิตเยอะไม่สามารถมำอะไรตามใจได้ "สู้" คำเดียวค่ะ สักวันความเพียรที่เราทำ ความดี ความกตัญญูจะช่วยให้คุณมีหนทางเสมอค่ะ (เราเชื่ออย่างนั้น)


วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เปลี่ยนเสื้อยืดตัวเก่าให้กลายเป็นเสื้อใหม่ D.I.Y. เสื้อยืดค่ะ

วันนี้ตื่นเช้าก็เกิดไอเดียว่าอยากจะตัดเสื้อผู้ชายให้แฟน แต่ทำไงดีไม่เคยตัดเสื้อผ้าผู้ชายเลย ก็ลองไปค้นดูแบบที่มีในตู้เสื้อผ้า ตายๆ คุณแฟนชอบใส่แต่เสื้อยืดแล้วจะหาผ้ามาจากไหนล่ะเนี่ย ผ้ายืดพวกนี้เค้าขายเป็นม้วนๆ พับๆ ไม่ได้แยกขายเป็นเมตรแบบผ้าแฟชั่นทั่วไป พอรื้อไปรื้อมาสักพักก็เห็น เสื้อยืดเก่าๆเยอะที่คุณชายชอบบ่นว่า แขนสั้น คอย้วย ใส่ไม่  แล้วราก็เหลือบไปเจอเสื้อตัวโปรดของคุณชายตัวนี้ค่ะ

เสื้อตัวโปรดของคุณชาย

ก็เกิดไอเดียว่าจะเอาเสื้อเก่าๆมาแปลงๆเอาแล้วกัน แล้วเราก็หันไปเจอสองตัวนี้

ตัวสีเหลืองแขนสั้น คอย้วย ตัวสีขาวเล็กใส่ไม่ได้
มองดูเสื้อแล้วพูดเข้าข้างตัวเองว่า "เอาล่ะเสื้อที่ไม่ใช้แล้ว ลองดูแล้วกัน ตัดผิดก็ทิ้งไป มีค่าเท่ากันเพราะไม่ได้ใส่อยู่แล้ว" 

คราวนี้เรามาดูวิธีเปลี่ยนเสื้อยืดตัวเก่าให้กลายเป็นเสื้อใหม่ D.I.Y. by Prang กันดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1

1. นำเสื้อที่จะทำเป็นส่วนแขนพับครึ่งแล้ววางแขนเสื้อตัวแบบลงไป ตัดให้เลยขอบมาหน่อยนะค่ะ เพื่อตะเข็บสัก 1.5 ซม.ค่ะ

ขั้นตอนที่ 2


2. วางเสื้อตัวที่ใช้เป็นตัวเสื้อแล้ววางเสื้อตัวแบบลงไป พับแขนเสื้อตัวแบบไว้ให้เหลือส่วนที่เป็นตัวเสื้อเท่านั้น และก็ตัดโลดค่า อย่าลืมเพื่อตะเข็บสัก 1.5 ซม.นะค่ะ

ขั้นตอนที่ 3

3. เย็บแขนเสื้อค่ะ เวลาเย็บให้หันผ้าด้านถูกเข้าข้างในนะค่ะ (ด้านถูกคือด้านนอกที่เราใส่สวยๆ)

ขั้นตอนที่ 4


4. แบะตะเข็บให้เรียบตามรูป พับขอบแขนเสื้อขึ้นมาประมาณ 1 ซม. แล้วเย็บเลยค่ะ ไม่ต้องเก็บขอบ ไม่ต้องกลัวผ้าลุ่ยเพราะผ้ายืดไม่ลุ่ยค่ะ 

ขั้นตอนที่ 5 

5.   ประกอบแขนเสื้อโดย วางตัวเสื้อเอาด้านผิดอยู่นอก (ด้านที่มีตะเข็บ) แล้วสอดแขนที่เย็บและกลับด้านเรียบร้อยแล้วเข้าไป 

ขั้นตอนที่ 6
6.  กลัดเข็มหมุดให้รอบแขน ตรวจดูอีกคครั้งว่าตะเข็บแขนเสื้อตรงกัน แล้วนำเย็บได้เลยค่ะ 

ขั้นตอนที่ 7 
7. มองดูผลงาน นั่งยิ้มแล้วชมตัวเองค่ะ 5555+

ขั้นตอนที่ 8
8. วัดรอบคอเสื้อได้เท่าไรเพื่อไป 1 ซม. เพื่อทำขอบคอเสื้อค่ะ

ขั้นตอนที่ 9
9. ตัดผ้าที่เหลือส่วนด้านหลังของเสื้อตัวที่ใช้ทำแขนมา กว้าง 2 นิ้ว ยาวตามที่วัดได้ + 1 ซม. แต่ในรูปผ้ามีเหลือไม่พอก็ต้องเอามาต่อกันค่ะ

ขั้นตอนที่ 10
10. นำผ้าคอเสื้อมาพับครึ่งโดยให้ผ้าด้านถูกอยู่ด้านนอก นำไปวางทับขอบเสื้อเดิมให้รอบ ความจริงกำลังใกล้เข้ามาแล้วค่ะ จะเสร็จแย้วๆๆๆๆๆๆ 

ขั้นตอนที่ 11 
11. จุดที่ผ้าขอบชนกันให้พับปลายด้านใดด้านหนึ่งแล้วพับทับลงไปตามรูป นำไปเดินจักรต่อได้เลยค่ะ เวลาเย็บก็เย็บเข้ามาลึกหน่อยนะค่ะ เราเย็บตรงกลางเลย ขอบคอจะไม่สูงมาก แต่ถ้าชอบสูงๆก็เย็บริมๆเอาค่ะ

ขั้นตอนที่ 12
12. เย็บคอเสร็จก็จะเป็นเช่นนี้ค่ะ ก็เก็บรายละเอียดด้วยการตัดชอบผ้าตะเข็บให้สั้นแล้วพลิกคอเสื้อให้ตั้งขึ้น (ถ้าผ้าหน้าอาจจะต้องเย็บรอบขอบคอทับอีกรอบหลังจากพลิกคอเสื้อขึ้นไปนะค่ะ)

ขั้นตอนที่ 13
13. เอามาวางเทียบดูสิ เอะตัวไหน ซื้อมา ตัวไหนทำเอง แยกกันไม่ถูกเลย 5555555555555+

ขั้นตอนสุดท้าย
14. สุดท้ายให้คุณชายใส่ค่ะ Tadaa! เสร็จภารกิจแล้วค่ะ 


ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะค่ะ มีอะไรไม่เข้าใจคอมเม้นถามได้ค่ะ 

ปรางมีเพจเย็บผ้าในเฟสชื่อ https://www.facebook.com/Guna.lazyhousewife เข้าไปเยี่ยมชมกดไลค์เป็นกำลังใจให้ได้นะค่ะ  ^___^

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตไม่แน่นอน ทำไมวันนี้อยากเป็นช่างเย็บผ้า? ตอนที่ 1

ช่วงนี้ไปไหนก็มีแต่คนถามว่านึกยังไงมาตัดผ้า? ชอบเหรอ? เปลี่ยนแนวเกินไปไหม?
เอาล่ะค่ะจะเล่าให้อ่านกันเพลิน ณ ตรงนี้เลยนะค่ะ

ด.ญ.อาทิตยา ธีระพงษ์ ตอนเด็กๆชอบเอาผ้าเก่าๆมาตัดชุดตุ๊กตา ซ่อมปะเสื้อผ้าเล่นไปเรื่อย พอช่วงก่อนจบม.ต้น เคยพูดกับแม่ว่า "แม่หนูอยากเรียนเย็บผ้า" แม่ก็บอกว่า "อย่าเลย เดี๋ยวก็ต้องมานั่งเย็บผ้าข้างถนน อาชีพนี้ไม่รวยหรอก" เราก็..........จบค่ะ


ก่อนจบ ม.ต้น ไม่นานเราก็เริ่มมีความรู้สึกเบื่อบ้านมากๆๆๆๆ ไม่อยากอยู่บ้าน เบื่อๆๆๆๆ เพราะเป็นคนที่ติดเพื่อนมากแต่โชคดีที่เพื่อนแต่ละคนเป็นคนดีไม่นอกลู่นอกทาง แค่ชอบมานั่งเม้ามอยกัน ตอนนั้นบังเอิญว่ามีโควต้า จากวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีมา ก็ลองสมัครไปทั้งๆที่รำไม่ค่อยจะเป็นเท่าไร แต่ก็สอบเข้าจนได้ ตอนนั้นก็คิดว่าเอาล่ะ ชีวิตเรามาทางนี้แสดงว่าเราต้องเกิดมาเพื่อสื่งนี้แน่เลย 

เมื่อตอนเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ใจกับไปฝักใฝ่ในภาษาอังกฤษซะงั้น วันๆฟังแต่เพลงฝรั่ง อ่านหนังสือ ฟังเอ็มเอฟเป็นภาษาอังกฤษหมด ทั้งที่ฟังไม่รู้เรื่องเลยแต่ก็แค่อยากให้มันเข้าหู ก็คิดว่าเราคงไปได้ดีทางด้านภาษามากกว่าทางรำ

ตอนอยู่ มศว ปี 1 ค่ะ
ก่อนจบม.ปลาย ก็มีอารมณ์กลัวว่าจะหาที่เรียนต่อไม่ได้ก็เลยไปสอบตรงที่ มศว คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกนาฏศิลป์ไทย แล้วก็สอบติดค่ะ ก็ลังเลนะเพราะใจอยากเรียนภาษาแต่จะไปเรียนที่ไหนล่ะไม่ได้เก่งขนาดนั้น บวกกับตอนนั้นได้ทุนของมูลนิธิยุวพัฒน์ด้วย เงื่อนไขของทุนคือต้องเข้าม.รัฐบาลให้ได้มูลนิธิจะจ่ายค่าเทอมเทอมแรกให้ ก็หนูจนนี่ค่ะก็รับข้อเสนอเลย (หารู้ไม่อีก 3 ปีที่เหลือหนูแทบกรีดเลือดเนื้อมาจ่ายเอง ของเค้าไม่ได้แพงเว่อร์แต่หนูจนค่ะ)

ตอนเรียนที่ มศว ก็ตั้งใจเรียนนะ ทำงานด้วยเรียนก็จบ 4 ปีปกติแถมได้เกียรตินิยมอันดับ 2 ด้วย ทั้งที่ไม่ใช่คนเก่ง รำก็ไม่เก่ง เต้นเข้าจังหวะก็ไม่คล่อง (ยกเว้นเต้นแบบคนเมา 555+) แต่เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง ดังนั้นกล้าพูดค่ะว่า "ดิฉันได้เกียรตินิยมไม่ใช่เพราะดิฉันเก่ง แต่ดิฉันได้เพราะความรับผิดชอบต่อหน้าที่นักศึกษาที่ดีค่ะ" 

ชุดนี้เป็นศิลปนิพนธ์ของปรางค่ะ ออกแบบท่ารำ เครื่องแต่งกาย และ เย็บเองค่ะ 

จุดเริ่มต้นของการเย็บผ้าเกิดจากต้องทำชุดการแสดงเองและไม่มีเงินมากพอที่จะไปจ้างคนอื่น ก็ลองมาคำนวณดูว่า ถ้าจ้างเค้าเย็บ ชุดละ 1000 บาท (ขั้นต่ำ เพราะมีทั้งเสื้อ กางเกง และผ้าถุง) นักแสดง 5 คน เป็นเงินทั้งหมด 5000 บาท และชุดอาจจะต้องแก้ไขอีก ตายๆแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายละเนี่ย ก็เกิดความคิดว่าจะเย็บเองซะเลย ลงทุนซื้อจักร 3500 บาทมานั่งเย็บเองดีกว่า

ไม่มีใครเป็นอะไรง่ายๆใช่ไหมค่ะ ได้จักรมาก็ใช้ไม่เป็น อุปกรณ์อะไรก็ไม่รู้คือะไร นั่งร้องไห้ไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง เย็บไปร้องไป บอกตัวเอง "ต้องทำให้ได้ ไม่ได้ไม่มีใช้เรียน ก็ไม่จบจะตายตอนนี้ไม่ได้นะปราง" สุดท้ายก็ทำสำเร็จออกมาเป็นชุดแบบที่เห็นทั้งหมด 5 ชุดค่ะ คิดดูเอาเองนะค่ะกว่าจะได้ 5 ชุดนี้น้ำตาหมดไปกี่ถัง!

พอเริ่มใช่จักรเป็นก็อยากตัดโน่นตัดนี่หาแบบมา ลอกเอา ทำมั่วทั้งนั้นก็ออกมาเป็นตัวจนได้นะ พอเริ่มทำก็เริ่มสนุก ข้อดีของการเย็บผ้าเป็นคือ "อยากใส่อะไรก็เย็บเองได้เลย ได้ขนาด คุณภาพแบบที่เราต้องการ ราคาก็ถูก และก็ได้ความภูมิใจด้วย" 

ชุดนี้ไม่มีแพทเทริน ตัดมั่วเอง แต่ชอบสุดๆค่ะ

หลังจากนั้นความชอบในการเย็บผ้าเริ่มมีมากขึ้นทุกวัน ตัดชุดใส่ไปทำงานเอง สั่งแพทเทรินสำเร็จรูปมาจากต่างประเทศมาทำตาม เอาแล้วสิ.......ไปทำงานใจก็ได้แต่คิดว่า..........."เมื่อไรจะเลิกงานสักที ฉันจะกลับไปเย็บผ้า!"



วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลำใยไร้เมล็ด

อากาศร้อนๆแบบนี้ กินลำใยแช่เย็นชื่นใจจริงๆค่ะ 

เมื่อวานไปซื้อลำใยมาปกติเพื่อนๆแกะทานเลยหรือเปล่าค่ะ ไม่ต้องตอบก็รู้ปรางก็เป็นค่ะ อิอิ
แต่เมื่อคุณแฟนไม่ชินกับการปลอกลำใยเลยทำให้การกินไม่เป็นสุข ปรางเลยช่วยแยกเมล็ดออกให้ แค่นี้แหละค่ะกินกันไม่ทันเลย 555

วันนี้จะมาแนะนำวิธีการแยกเมล็ดลำใยนะค่ะ (เป็นวิธีที่คิดเองไม่รู้ว่าถูกตามหลักไหมนะค่ะ)






วิธีทำ
1. ล้างลำใยให้สะอาดก่อนะค่ะ เพราะจะฝุ่นดินติดที่เปลือก ถ้าไม่ล้างแกะไปลำใยจะดำๆดูไม่สวยค่ะ อ่อ ล้างมือด้วยนะค่ะ ไม่งั้นลำใยอาจจะมีรสชาติแปลกๆ อิอิ
2. แกะเปลือออก และ แช่ในน้ำเกลือ เกลือที่ใช้ทำกับข้าวเลยค่ะเทไปนิดหน่อยไม่ต้องเยอะนะค่ะไม่ได้ทำดองเค็มแค่ให้ลำใยคงสีสวยแค่นั้นค่ะ
3. นำไม้จิ้มฟัน ไม้ลูกชิ้น  หรือ ไม้ปลายแหลมๆมาแคะเมล็ดออก เริ่มจากการแทะไปที่คั่วเมล็ดก่อนนะค่ะ เพราะส่วนนี้และค่ะที่ยึดเมล็ดไว้
4. เมื่อตัดคั่วได้แล้วก็งัดเลยค่ะ ถ้าไม่ออกก็เอาก้นช้อนเล้กๆแงะก็ได้ค่ะ และก็ Tadaa! เสร็จเรียบร้อย นำไปแช่เย็นสักพัก พร้อมรับประทานค่ะ

แขกขายผ้า กับ แม่ค้าขายเสื้อ

สำหรับประเด็นเมื่อวานที่โพสไปใน Facebook เรื่องแขกขายผ้า กับ แม่ค้าขายเสื้อ วันนี้จะมาเล่าความไม่ซื่อให้อ่านกันนะค่ะ ส่วนคนไหนอ่านแล้วจะว่าเราโง่ที่โดนหลอกก็ไม่ว่ากันค่ะ

ร้านผ้าพหุรัต 
- ไปเจอร้านหนึ่ง ลายสวยถูกใจ เจ้าของบอกผ้าไหมอิตาลีพิมลาย (รู้อยู้แล้วว่าที่อิตาลีไม่มีผ้าไหม แต่ไม่รู้ทำไมเรียกผ้าไหม) สีไม่ตกนะ เราก็ดูเออว่ะ สีสวย ลองดึงผ้าดูตึงๆ เพื่อเช็คว่าลายจะแตกไหม ไม่แตกจริงๆ ก็เลยเอามา พอมาตัดยังไม่ทันได้ซักเลยค่ะ แค่รีดกลีบผ้า ลายที่มันพิมละลายเละหมดเลยบอก

ดูดีๆตรงกลางจะเห็นวิญญาณของหมึกผีอยู่ค่ะ หนูปวดใจค่ะ!
แถมมุมผ้ามีตำหนิลายที่มันปริ้นทับกันมา เหนียวเหมือนสีไม่แห้งด้วยค่ะ พอเห็นผ้ามีตำหนิแม่ค้าก็ต้องใจหายสิค่ะ ขาดทุนแน่ๆ ตายๆๆๆ ชีวิตแม่ค้าหน้าใหม่ต้องมาเจออะไรเยี่ยงนี่

-  พ่อค้าแบบขายของหวังวันเดียวรวยเลย พวกตั้งราคาตามใจฉัน วันนี้ราคาหนึ่ง อีกวันราคาหนึ่ง คือเราเอามาตัดขายตัวแรกเราก็จะตั้งราคาไว้ พอเรากลับไปจะเอาของเพิ่ม ขึ้นราคาบอกว่าราคานี้อยู่แล้ว วินาทีที่ได้ยินคำนั้น อยากจะพูดกับเขาว่า "สวดมนต์เยอะๆนะจะได้ไม่ต้องลงนรก" คือถ้าบอกตรงๆราคาขึ้นเราก็รับได้นะ ฮืม.......หลังจากนั้นร้านนี้ก็จะไม่มีวันได้เงินจากเราอีกเลย

- ข้อนี้ไม่เจอกับตัวนะค่ะแต่เพื่อนบอกมาว่า ต้องยืนเฝ้าพนักงานเวลาตัดผ้าด้วยเพราะบางที่โกงตัดให้ไม่ครบเมตรค่ะ

แม่ค้าขายเสื้อ
- เราเป็นคนที่ชอบใส่เสื้อยืดมากๆ พอดูออกว่าเนื้อแบบไหนดี ไม่ดี แต่และแล้วความซวยก็บังเกิดค่ะ
ไปเจอเสื้อยืดขายส่งในประตูน้ำตลาดล่าง 3 ตัวราคาส่ง ไปจับๆ คลำๆดู เออเนื้อดีจัง เอาๆ
สั่งไป 3 ตัว 3 สี ระหว่างจ่ายตังก็แม่ค้าก็ชวนคุยโน่นนี่เราก็ไม่ได้เอะใจ พอเดินกลับมาขึ้นเรือเปิดถุงดู น้ำตาแทบร่วง ผ้าคนละเนื้อกับที่นางแม่ค้าใจคดเอามาตั้งโชว์!

**อ่านไว้เป็นบทเรียนนะค่ะ เพื่อนๆซื้อของก็ควรเช็คหน้าร้านไปเลยค่ะ ดีชั่วให้รู้กันต่อหน้าไปเลย**